Google+ Albert Einstein: ผู้ผลิกทฤษฎีให้เป็นหลักปฏิบัติที่ประกอบด้วยเหตุและผล ~ Education For Life

ชีวิตไม่ใช่ เครื่องจักรมันมีความซับซ้อนมีความสดใส ร่าเริงมองโลกในแบบต่างๆรักอิสระ รักพวกพ้อง และมีปัญหาหลากหลาย ต้องการใครสักคน มาให้คำตอบเพื่อเป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิต

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

On 07:27 by EForL   No comments
ทฤษฎีสัมพัทธภาพของนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ ไอน์สไตน์ เป็นผลงานที่น่าเกรงขาม เพราะไม่เพียงแต่สะท้อนถึงภูมิปัญญาที่เหนือมนุษย์ แต่ยังสะท้อนถึงความละเอียดอ่อนในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ หลักการคำนวณของเขา สามารถนำไปพิสูจน์กฎทางฟิสิกส์อื่นๆได้อย่างสอดคล้องและครอบคลุม ทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนก่อนหน้าเขาเคยคิดขึ้นมาสั่งสมกันนับพันปี
ทฤษฎีของไอน์สไตน์ ก็ก่อให้เกิด คลื่นลูกที่สาม เกิดการปฏิวัติเทคโนโลยี มีการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม อย่างมหาศาล ระบบดาวเทียม เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่น DVD ระบบ GPS ไมโครเวฟ แสงเลเซอร์ จอภาพโทรทัศน์ เครื่องถ่ายเอกสาร โทรศัพท์มือถือ Fiber optic ฯลฯ หรือใครที่สายตาสั้นแล้วไปทำเลสิก ก็ต้องนึกขอบคุณไอน์สไตน์เพราะทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแล้วพัฒนามาจากพื้นฐานทางทฤษฎีของไอน์สไตน์ทั้งสิ้น

และเช่นกัน เหรียญย่อมมีสองด้าน มีมนุษย์อีกพวกหนึ่ง นำทฤษฎีของไอน์สไตน์ ไปพัฒนาสร้างอาวุธทำลายล้างสูง อย่างระเบิดปรมาณู และทดลองไปทิ้งที่ฮิโรชิมาเป็นที่แรก โลกต้องตะลึงในอานุภาพของมัน ด้วยมวลของมวลสารเพียง 0.7 กรัม สลายตัวภายใน 0.01 วินาที ให้พลังงานออกมาขนาดทำเอาเมืองฮิโรชิมาราบไปทั้งเมือง

ไอน์สไตน์เป็นคนเชื้อสายยิว เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม ประเทศเยอรมนี ในวัยเด็กเขาเป็นคนที่มีความคิดช้า ซึ่งจะว่าไปแล้วน่าจะเป็นคนที่มีความคิดละเอียดรอบคอบมากกว่าเพราะตอนอายุได้ 5 ขวบ คุณพ่อเอาเข็มทิศมาให้ดูแล้วถามว่าเหตุใดเข็มทิศจึงชี้ไปทางเหนือเสมอ เขาตอบว่ามันต้องมีอะไรหรือพลังงานอะไรสักอย่างที่มองไม่เห็นซ่อนอยู่ในอากาศคอยดึงให้เข็มชี้ไปทางนั้น

ในเรื่องการเรียนไอน์สไตน์ไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนักเพราะในวัยเด็กพ่อแม่มักบังคับให้เรียนในวิชาที่เขาไม่ถนัดอยู่เสมอจนเขาเกิดความคิดว่า การเรียนในห้องเรียนเป็นการเรียนที่ฉาบฉวยนั้งกางตำราแล้วรีบเรียนให้จบๆไป ท้ายที่สุดก็ไม่ได้อะไรต้องเสียเวลาไปเปล่าๆ เขาจึงใช้เวลานอกห้องเรียนศึกษาในสิ่งที่เขาถนัดนั้นคือคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จนเกิดงานเขียนจากการศึกษานอกห้องเรียนขึ้นอย่างมากมาย

เมื่อสำเร็จการศึกษา เขาได้ทำงานที่ไม่ตรงกับความถนัดเท่าไร แต่ก็มีเวลาว่างมากพอที่จะศึกษาในสิ่งที่เขาถนัดอย่างละเอียด พร้อมกับนำเสนอสิ่งที่เขาได้ศึกษาผ่านวารสาร อันนาเล็น เดอร์ ฟิสิก( Annalen Der  Physik )

ยิ่งวันเวลาในชีวิตผ่านไม่มากเท่าไรสิ่งที่ไอน์สไตน์ได้นำเสนอยิ่งได้รับการพิสูจน์ออกมาในรูปแบบของวิทยาศาสตร์มากเท่านั้น และเป็นที่ยอมรับในวงกว้างด้วย

แม้ว่าไอน์สไตน์จะไม่ได้นับถือพุทธศาสนา แต่การค้นพบสัจธรรมบางอย่างของจักรวาลผ่านจินตนาการและทฤษฎีทางฟิสิกส์ของเขา เข้าใกล้ และเข้าถึงความจริงบางด้านของธรรมชาติ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงค้นพบและประกาศมาก่อนหน้านับพันปี และเมื่อภายหลัง ไอน์สไตน์ได้ศึกษาเรื่องราวของพุทธศาสนาจากเพื่อนนักเขียนคนหนึ่ง ไอน์สไตน์ถึงกับประหลาดใจ ที่การค้นพบของเขาเป็นเพียงส่วนน้อยนิดของศาสนาแห่งจักรวาล





ความจริงของจักรวาลมีเพียงความจริงเดียว มีระบบระเบียบและความสมบูรณ์อยู่ในตัวเอง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาค้นหา โดยใช้หลักทางตรรกะ เหตุผล พิสูจน์ออกมาเป็นตัวเลขและทฤษฎีทางฟิสิกส์ ในขณะที่พระพุทธองค์ใช้ปัญญาญานในการค้นคว้าความจริงแท้แห่งจักรวาล ในเมื่อต่างฝ่ายต่างต้องการหาความจริงแท้อันเดียวกัน แต่วิถีทางต่างกัน ในที่สุด เมื่อเข้าใกล้ความจริงแท้ จะพบว่าการค้นพบของทั้งสองวิถีมีความสอดคล้องกันอย่างมหัศจรรย์
ไอน์สไตน์เป็นคนที่ไม่กลัวความตาย เขาเคยเขียนไว้ว่า การกลัวความตายคือความกลัวที่ไม่มีเหตุผลที่สุดในบรรดาความกลัวทั้งปวง ( The fear of death is the most unjustified of all fears )
ไอน์สไตน์เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ.1955 อายุ 76 ปี พร้อมทั้งทิ้งงานที่คั่งค้างอยู่คือ การคิดทฤษฎีที่จะรวมแรงพื้นฐานในธรรมชาติที่มีอยู่ 4 ชนิดเข้าไว้ในกฎเดียวกันคือ
 1. แรงโน้มถ่วง
 2. แสงหรือแรงแม่เหล็กไฟฟ้า
 3. แรงนิวเคลียร์ชนิดอ่อน
 4. แรงนิวเคลียร์ชนิดเข้ม

ถ้ากฎนี้เกิดได้จริงความลับของจักรวาลจะถูกเปิดเผยมากกว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพหลายเท่า การเหาะเหินเดินอากาศของมนุษย์จะกลายเป็นเรื่องธรรมดา ทฤษฎีนี้จะสามารถอธิบายอนุภาคพื้นฐานทุกชนิดในจักรวาลรวมไปถึงอธิบายได้ถึงปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพและแรงทุกระบบในจักรวาลได้หมด 
ถึงแม้ "อัลเบิร์ต ไอสไตล์ได้จากโลกนี้ไปโดยที่เขายังไม่สามารถค้นพบตำตอบตามที่เขากำลังต้องการก็ตาม แต่ไอสไตล์ได้ทิ้งคำพูดที่เป็นปริศนาที่สำคัญมากให้กับมนุษยชาติ ในช่วงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของเขา อัลเบิร์ตได้เริ่มสงสัยแล้วว่า พระพุทธศาสนา อาจจะเป็นศาสนาที่ให้คำตอบต่อคำถามที่เขากำลังพยายามค้นหา ในช่วง 1 ปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิตนั้น มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ได้ตีพิมพ์งานเขียนชิ้นหนึ่งของเขาชื่อเรื่อง "The Human Side" ซึ่งนักฟิสิกส์ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลผู้นี้ ได้กล่าวทิ้งท้ายให้เป็นปริศนาแห่งโลกอนาคตว่า

The religion of the future will be a cosmic religion. It should transcend personal God and avoid dogma and theology. Covering both the natural and the spiritual, it should be based on a religious sense arising from the experience of all things natural and spiritual as a meaningful unity. Buddhism answers this description. If there is any religion that could cope with modern scientific needs it would be Buddhism. (Albert Einstein)

 "ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา(คือพึ่งเทวดาเป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้น เมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนสามัญสำนึกทางศาสนา ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา"

0 ความคิดเห็น: