Google+ ประวัติความเป็นมา window server ~ Education For Life

ชีวิตไม่ใช่ เครื่องจักรมันมีความซับซ้อนมีความสดใส ร่าเริงมองโลกในแบบต่างๆรักอิสระ รักพวกพ้อง และมีปัญหาหลากหลาย ต้องการใครสักคน มาให้คำตอบเพื่อเป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิต

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

On 20:08 by EForL   No comments

ประวัติความเป็นมา (History)

วินโดวส์ที่ถูกพัฒนาโดยไมโครซอฟต์ในรุ่นแรก ๆ จะใช้กับเครื่องไอบีเอ็ม และไอบีเอ็มคอมแพททิเบิล ที่มีซีพียูเบอร์ 80286 80386 และ 80486 และในปี 1990 ไมโครซอฟต์ได้ออกวินโดวส์เวอร์ชัน 3.0 ออกมา เพื่อทำการโปรโมทผู้ใช้ไม่ให้หันไปนิยมใช้แมคอินทอชโอเอสแทนดอส อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าวินโดวส์จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส แต่ในเวอร์ชันแรก ๆ การใช้งานก็ยังไม่ง่ายเท่าของแมคโอเอส และนอกจากนี้การติดตั้งอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ก็ยังทำได้ยากวินโดวส์ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จากวินโดวส์เวอร์ชัน 3 มาเป็น 4.0 วินโดวส์ 95 และวินโดวส์ 98 ในปัจจุบัน วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98 ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริง เนื่องจากมันไม่ต้องอยู่ภายใต้ การควบคุมของดอส การติดตั้งจะแยกออกจากดอสอย่างเด็ดขาดไม่จำเป็นต้องติดตั้งดอสก่อน นอกจากความง่ายและสะดวกต่อการใช้งานแล้ว วินโดวส์เวอร์ชันใหม่นี้ยังรวมซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้ากับระบบเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและยังเอื้ออำนวยความสะดวกในการโอนถ่ายซอฟต์แวร์หรือที่เรียกว่าดาวน์โหลด(Download) โปรแกรมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้วินโดวส์เวอร์ชันใหม่นี้ยังมีความสามารถทางด้าน Plug–and-Play ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถนำอุปกรณ์ มาตรฐานต่าง ๆ เช่น ซีดีรอมไดรฟ์ ซาวน์การ์ด โมเด็ม ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ฯลฯ ที่สนับสนุน Plug-and-Play มาต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง และเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 หรือ 98 จะทำหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้และทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักอุปกรณ์เหล่านี้เอง โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มในปัจจุบันตลาดพีซีเกือบทั้งหมดถูกครองครองโดยระบบปฏิบัติการวินโดวส์ รวมทั้งมีการผลิตซอฟต์แวร์ที่รันอยู่บนระบบปฏิบัติการประเภทนี้ออกมาสู่ตลาดอย่างมากมาย ดังนั้นจึงมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่นิยมใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98Microsoft Windows



ตั้งแต่อดีต - ปัจจุบันปี รายละเอียดตุลาคม 2524 IBM เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลครั้งแรก พร้อมด้วยระบบปฏิบัติการ PC-DOS 1.0 ของไมโครซอฟท์มีนาคม 2526 ไมโครซอฟท์เปิดตัว MS-DOS 2.0 ที่สนับสนุนการใช้งานฮาร์ดดิสก์และระบบจัดการไฟล์แบบใหม่พฤศจิกายน 2526 ไมโครซอฟท์แนะนำระบบปฏิบัติการ Windows ที่ทำงานบน MS-DOS โดยเริ่มแรกที่ใช้ชื่อว่า Interface Manager พฤศจิกายน 2528 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows1.0 เมษายน 2530 IBM และไมโครซอฟท์ร่วมกันเปิดตัว OS/2 1.0 ระบบปฏิบัติการยุคใหม่ที่มีระบบการทำงานตามคำสั่งคอมมานต์ไลน์เหมือนกับDOSธันวาคม 2530 ไมโครซอฟท์จำหน่ายระบบปฏิบัติการ Windows 2.0 ที่หน้าต่างสามารถวางซ้อนทับกันได้ และทำงานได้กับไมโครโปรเซสเซอร์80286 ของอินเทล ธันวาคม 2530 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows/386 ซึ่งอาศัยคุณสมบัติ Virtual Machine ของไมโครโปรเซสเซอร์ 80386 ซึ่งสามารถเรียกใช้งานโปรแกรม DOS ได้แบบหลายงานพร้อมกัน(Multitasking) มิถุนายน 2531 ไมโครซอฟท์จำหน่ายระบบปฏิบัติการ Windows 2.0 Version 2 มีชื่อว่า Windows-286 ตุลาคม 2531 IBM และไมโครซอฟท์ร่วมกันพัฒนาและออก OS/2 1.1 ซึ่งมีหน้าตาแบบกราฟฟิคคล้ายกับวินโดวส์ โดยมีชื่อว่า PresentationManager ต่อมาภายหลังภายหลังทั้งสองบริษัทได้หยุดความร่วมมือในการพัฒนา OS/2 พฤศจิกายน 2531 เปิดตัว MS-DOS 4.1 ออกสู่ตลาดพฤษภาคม 2533 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 3.0 และได้รับการตอบรับอย่างดี โดยในช่วงปลายปี ไมโครซอฟท์ขยายซอฟต์แวร์Windows ได้มากกว่า 1 ล้านชุดต่อเดือนเมษายน 2534 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 3.1ด้วยเทคโนโลยีแสดงตัวอักษรแบบใหม่ และแก้ปัญหาบั๊กต่างๆ มิถุนายน 2534 เปิดตัว MS-DOS 5.0 ออกสู่ตลาด ตุลาคม 2534 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows for Workgroup 3.1โดยความสามารถด้านเครือข่าย มีนาคม 2535 เปิดตัว MS-DOS 6.0 ออกสู่ตลาดพฤษภาคม 2535 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT 3.1 เวอร์ชั่นของสายผลิตภัณฑ์ Windows NT ซึ่งมองโดยรวมแล้วมีลักษณะคล้ายWindows 3.1 แต่ทำงานบนเครื่อง 32 บิตพฤศจิกายน 2536 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows for Workgroup 3.11พร้อมกับ MS-DOS 6.2มีนาคม 2537 เปิดตัว MS-DOS 6.21 ออกสู่ตลาดพฤษภาคม 2537 เวอร์ชันสุดท้ายของ DOS ออกสู่ตลาด คือ MS-DOS 6.22 ด้วยความสามารถในการบีบอัดข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ DriveSpace กันยายน 2537 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT เวอร์ชัน 2 ออกสู่ตลาด (Windows NT 3.5) มิถุนายน 2538 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT3.51 สิงหาคม 2538 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 95 (Windows 4.0)ออกสู่ตลาด ด้วยความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ Windows 95 สนับสนุนชื่อไฟล์แบบยาวแอพพลิเคชัน 32 บิต และมีคุณสมบัติ Plug and Play พร้อมกับหน้าจออินเทอร์เฟซใหม่ ที่มีการใช้ปุ่ม Start Menu เป็นครั้งแรกกรกฎาคม 2539 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT 4.0 ซึ่งมีหน้าจออินเทอร์เฟซแบบเดียวกับ Windows 95 และเป็นระบบปฏิบัติการสายNT ตัวแรกที่ประสบผลสำเร็จตุลาคม 2539 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ OEM Service Release 2 ของWindows 95 หรือที่เรียกว่า OSR2 และเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกของWindows 95 ที่สนับสนุนการใช้งานระบบไฟล์แบบ FAT32มิถุนายน 2540 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 95 OSR2.1 ซึ่งสนับสนุนตัวประมวลผลทางด้านกราฟฟิค AGP และพอร์ต USB มิถุนายน 2541 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 98 ออกสู่ตลาด พร้อมด้วย Internet Explorer 4.0 ไดร์เวอร์ฮาร์แวร์ใหม่ ระบบจัดการพลังงานด้วย ACPI นับเป็นวินโดวส์อีกรุ่นที่ประสบความสำเร็จพฤษภาคม 2542 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 98 Second Edition (SE)ออกสู่ตลาด พร้อมด้วย Internet Explorer 5.0 และ Internet ConnectionSharing (ICS) กุมภาพันธุ์ 2543 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 2000 (Windows NT5.0) โดยสนับสนุนคุณสมบัติ Plug and Play, DirectX, USB และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีอยู่ใน Windows 9x กันยายน 2543 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows Millenium Edition (Me)ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายในสายผลิตภัณฑ์ Windows 9x ตุลาคม 2544 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows eXPerience หรือWindows XP ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมสายผลิตภัณฑ์ Windows 9xและWindows NT/2000 เข้าไว้ด้วยกัน และสนับสนุนงานทางด้านMultimedia
Microsoft Windows Server 2003 Windows Server 2003 คือแพล็ตฟอร์มที่ช่วยเพิ่มประสิทธิผลให้กับผู้ใช้ ให้มุมมองใหม่ของข่าวสารทางธุรกิจที่สำคัญต่อผู้ใช้ เพื่อจะสามารถทำงานร่วมกัน จัดการ และตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในโลกแห่งการแข่งขันได้ดีขึ้น ระบบปฏิบัติการตระกูล Windows Server 2003 ทำให้งานด้าน IT มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมกับช่วยลดค่าใช้จ่าย สำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก จนถึงศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่
ระบบปฏิบัติการตระกูล Windows Server 2003 สามารถช่วยให้:ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แอพพลิเคชั่นได้รับการพัฒนา, นำไปใช้ และทำงานได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น เพิ่มผลการทำงานให้กับทุกส่วนขององค์กร การให้บริการอย่างต่อเนื่องสามารถทำงานได้ตลอดเวลา ด้วยการปรับปรุงด้านการทำคลัสเตอร์ ซึ่งรองรับการมีเซิร์ฟเวอร์ถึง 8 เครื่อง ความสามารถในการขยายระบบสนับสนุนทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพให้เซิร์ฟเวอร์ โดยรองรับการเพิ่มโปรเซสเซอร์แบบ 64-บิต สูงสุดถึง 64 ตัว (SMP) และการเพิ่มจำนวนเซิร์ฟเวอร์ให้กับระบบงาน ด้วยการทำคลัสเตอร์ รวมไปถึงการสนับสนุนโปรเซสเซอร์ทั้งแบบ 32-บิต และ 64-บิตด้วย ความสามารถด้านการจัดการ ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาลง ด้วยการทำงานให้โดยอัตโนมัติ โดย Windows Server 2003 มีเครื่องมือช่วยในด้านการจัดการ เช่น Active Directory® และ Group Policy, การใช้สคริปต์ และ wizard สำหรับปรับการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ ความปลอดภัย โครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยคือปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจ ในฐานะของผู้นำในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับระบบที่มีความปลอดภัยสูงขึ้นกว่าเดิม ดังจะเห็นได้ว่า Windows Server 2003 ให้ความปลอดภัยสูงขึ้น ไม่ว่าจะเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบจากที่ใด ด้วยอุปกรณ์ใดๆ ก็ตาม ข้อมูลที่สำคัญของคุณจะได้รับการปกป้องตลอดเวลา Windows Server 2003 มีเว็บเซิร์ฟเวอร์ Internet Information Services (IIS) ที่ได้รับการออกแบบใหม่ พร้อมรองรับโปรโตคอลที่มีความปลอดภัยสูง อย่างเช่น 802.1x และ PEAP รวมถึงมี common language runtime ที่มีส่วนทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัยมากขึ้นการมีรากฐานที่แข็งแกร่ง ทำให้องค์กรธุรกิจสามารถเสนอบริการที่มีค่าใช้จ่ายน้อยลง แต่ให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น และช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละราย แอพพลิเคชั่นที่ดีขึ้น และทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิม Windows Server 2003 ใช้สถาปัตยกรรมที่มีเสถียรภาพ และสามารถขยายระบบได้ จึงเป็นแพล็ตฟอร์มที่ทรงพลังสำหรับแอพพลิเคชั่น โดยวางรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อให้การพัฒนาและจัดการกับแอพพลิเคชั่นทำได้ง่าย อีกทั้งความสามารถในการขยายระบบและการปรับปรุงประสิทธิภาพยังทำให้รันแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่ได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนั้น บริการสำหรับแอพพลิเคชั่น เช่น Microsoft .NET Framework, Message Queuing, COM+ และอื่นๆ จะรวมกันเป็นเครื่องมือที่นักพัฒนาและผู้ดูแลระบบสามารถสร้างโซลูชั่นที่มีการเชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

0 ความคิดเห็น: