Google+ ความเป็นมาของ Ethernet ~ Education For Life

ชีวิตไม่ใช่ เครื่องจักรมันมีความซับซ้อนมีความสดใส ร่าเริงมองโลกในแบบต่างๆรักอิสระ รักพวกพ้อง และมีปัญหาหลากหลาย ต้องการใครสักคน มาให้คำตอบเพื่อเป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิต

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

On 01:31 by EForL   No comments
ETHERNET
Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ
ระบบที่ใช้อีเทอร์เน็ตนั้น เหมาะกับงานที่ต้องการรับส่ง/ข้อมูลในอัตราความเร็วสูงเป็นช่วง ๆ เป็นครั้งคราว การรับ/ส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตแต่ละเครื่องจะเป็นไปอย่างไม่มีวินัย นั่นคือ เมื่อตรวจสอบแล้วว่าในขณะนั้นไม่มีเครื่องอื่น ๆ กำลังส่งข้อมูล แต่ละอย่างเครื่องจะแย่งกันส่งข้อมูลออกมา โดยเครื่องใดที่ส่งข้อมูลออกมาจะมีหน้าที่เฝ้าดูว่ามีเครื่องอื่นทำการส่งข้อมูลออกไปพร้อมกันด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเกิดการส่งพร้อมกันแล้วจะก่อให้เกิดการชนกันของข้อมูล แต่ถ้าตรวจจับได้ว่ามีการขนกันขึ้นก็จะหยุดส่งแล้วรอคอยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนจะทำการส่งข้อมูลออกไปอีกครั้งหนึ่ง เวลาที่ใช้ในการรอคอยนั้นเป็นค่าที่สุ่มขึ้นมา ซึ่งมีความสั้นยาวต่างกันไป เทคนิคหลายอย่างเช่นที่นำมาใช้ในการรอคอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันซ้ำสอง หนึ่งในนั้นคือ คำนวณการเพิ่มระยะเวลารอคอยแบบ Exponential ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection (CSMA/CD) เนื่องจากการ์ดอีเทอร์เน็ตที่ใช้ในเครือข่ายแบบนี้สร้างมาจากหลายผู้ผลิต จึงมีองค์กรมาตรฐานขึ้นมากำหนดหมายเลขประจำให้ผู้ผลิตแต่ละราย เพื่อสร้างความมั่นใจให้การ์ดแต่ละใบจะไม่มีแอดเดรสที่ซ้ำกัน
การส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ตนั้นจะเป็นไปในแบบเฟรมที่มีความยาวไม่แน่นอน แม้ว่าเฟรมข้อมูลของอีเทอร์เน็ตจะมีแอดเดรสต้นทางและปลาย แต่เทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตเองกลับเป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายสัญญาณ (Broadcast) ซึ่งในเครื่องเครือข่ายเดียวกันจะได้รับเฟรมข้อมูลเดียวกันทุกเฟรม โดยเลือกเฉพาะเฟรมที่มีแอดเดรสปลายทางเป็นของตนเองเท่านั้น ส่วนเฟรมอื่น ๆ จะไม่สนใจ แต่ในบางกรณีที่มีการทำงานในโหมด Promiscuous ซึ่งเป็นโหมดที่นำเฟรมข้อมูลทุกเฟรมไปใช้งานโดยส่งต่อไปยังซอฟแวร์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป เช่น กรณีของเครื่องที่ทำหน้าที่วิเคราะห์โปรโตคอล (Protocal Analyzer) หรืออาจจะเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีของพวกแฮกเกอร์ก็ได้ กรณีเช่นนี้จะเห็นถึงความปลอดภัยของมาตรฐานนี้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/Network2/6.htm
http://www.paktho.ac.th/computerptk/introcom/FastEthernet.htm
http://www.arpt.moe.go.th/ebook/datacom/unit4/DATA4_5.htm

แบบทดสอบเสริมความเข้าใจ
1.ระบบเครือข่าย1 000 BaseCXความเร็ว 1,000 Mbpsระยะทาง 25 เมตรโคแอ็กเชียล 150 โฮห์มสายสัญญาณ เป็น โครงสร้างการเชื่อมต่อแบบใด
ก. แบบbus
ข.แบบstar
ค.แบบring
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ก เป็นการเชื่อมต่อแบบbusแหล่งที่มา จากตาราง IEEE802.3z


2.มาตราฐาน IEEE802.3u 100 Base TXใช้สาย สัญญาณแบบใด
ก.UTP Category3หรือ4 โดยใช้สายภายในเพียง 2คู่
ข.UTP Category3หรือ4โดยใช้คู่สายภายในทั้ง 4คู่
ค.UTP Category 5โดยใช้สายภายในเพียง 2คู่เท่านั้น
ง. ใช้สายFiber oplie
เฉลย ค UTP Category 5โดยใช้สายภายในเพียง 2คู่เท่า

3.Ethernet ( IEEE802.3 )ใช้บน Topology แบบ BUS และแบบstar ใช้หลักการส่งข้อมูลแบบใด
ก. CSMA/UTP
ข.RSMA
ค. CSMA
ง. CSMA/CD
เฉลย ง. CSMA/CD ใช้บน Topology แบบ BUS และแบบstar ใช้หลักการส่งข้อมูลแบบ CSMA/CDที่มีความเร็ว 10Mbps หรือ 100 Mbps Fast Ethernet ( IEEE802.3u )

4.ข้อใดคือประโยชน์ของกิกะบิตอีเธอร์เนต
ก.ประสิทธิภาพในการใช้เครือข่ายเพิ่มมากขึ้นทำให้การส่งผ่านข้อมูลข้ามจากเซกเมนต์หนึ่งไปยังเซกเมนต์หนึ่งด้วยความเร็วสูงเพื่อตอบสนองการใช้งาน
ข.โอกาสในการขยายตัวของระบบเครือข่ายทำให้รองรับอนาคตได้อีกยาวไกล
ค.คุ้มค่าในการลงทุนในระยะยาวง.ถูกทุข้อเฉลย
ง.ถูกทุข้อ
เฉลย ข้อ ก.ประสิทธิภาพในการใช้เครือข่ายเพิ่มมากขึ้นทำให้การส่งผ่านข้อมูลข้ามจากเซกเมนต์หนึ่งไปยังเซกเมนต์หนึ่งด้วยความเร็วสูงเพื่อตอบสนองการใช้งาน

5.หลักการพื้นฐานที่สำคัญของ Gigabit Ethernet (IEEE802.3z) คืออะไร
ก.การปรับแก้ส่วนของ (Physycal Layer)
ข.การปรับแก้ส่วนของ (Network Layer)
ค.การปรับแก้ส่วนของ MAC Layer (Media Access Control Layer)
ง.การปรับแก้ส่วน (data ling Layer)
เฉลย ค.การปรับแก้ส่วนของ MAC Layer (Media Access Control Layer)โดยกลไกที่เรียกว่า Carrier Extension โดยกลไกตัวนี้จะทำการเพิ่มความยาวของเฟรมที่มีขนาดน้อยกว่า 512 ไบต์ โดยจะทำการเพิ่มข้อมูลเข้าไปยังส่วนท้ายของเฟรมเพื่อให้เฟรมข้อมูลนั้นมีขนาดเท่ากับ 512 ไบต์ เหตุที่ต้องทำเช่นนี้เนื่องมาจากว่าใน Ethernet แบบแรกที่ความเร็ว 10Mbps (IEEE802.3) นั้นได้มีการกำหนดออกแบบเอาไว้


0 ความคิดเห็น: