Google+ แบบทดสอบเรื่อง อุปกรณ,OSI Toppology,สัญญาณ ~ Education For Life

ชีวิตไม่ใช่ เครื่องจักรมันมีความซับซ้อนมีความสดใส ร่าเริงมองโลกในแบบต่างๆรักอิสระ รักพวกพ้อง และมีปัญหาหลากหลาย ต้องการใครสักคน มาให้คำตอบเพื่อเป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิต

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

On 20:58 by EForL   No comments
1.องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วน
ก.3 ข.4ค.5 ง.6
ตอบ ง.6 มีดังนี้คือ
1.ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2.ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (Destination) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3.ช่องสัญญาณ (Channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4.การเข้ารหัส (Encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงานที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5.การถอดรหัส (Decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6.สัญญาณรบกวน (Noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้วงจรกรอง (Filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้นแหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/index.htm
2.สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ก.1
ข.2
ค.3
ง.4
ตอบ ข. คือสัญญาณอะนาลอกและสัญญาณดิจิตอล
แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/2.htm
3. การส่งสัญญาณข้อมูลแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ การส่งแบบขนานและแบบอนุกรมการส่งแบบขนานจะมีลักษณะการส่งแบบใด
ก.ข้อมูลจะถูกส่งออก ไปทีละบิตต่อเนื่องกันไป
ข.จะส่งข้อมูลแบบวงกลม
ค.ทำการส่งข้อมูลทีละหลาย ๆ บิต
ง.ไม่มีข้อถูก
ตอบ ค. เพราะการส่งแบบขนานนั้นจะทำการส่งข้อมูลทีละหลาย ๆ บิต เช่น ส่ง 10011110 ทั้ง 8 บิต ออกไปพร้อมกันโดยผ่านสายส่งข้อมูลที่มี 8 เส้น ส่วนการส่งข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจะถูกส่งออก ไปทีละบิตต่อเนื่องกันไป เช่นถ้าข้อมูลคือ 10011110 เลข 0ทางขวามือสุดเป็นบิตที่ 1 เรียงลำดับไปจนครบ 8 บิต โดยการส่งนั้นจะใช้สายส่งเส้นเดียวเท่านั้น
แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/2.htm
4. Physical Layer เป็น layer ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอะไร
ก.ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จากช่องทางการสื่อสาร
ข.ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง-รับในการส่งผ่าน ข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง
ค.เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
ง.ควบคุมความผิดพลาดในข้อมูล
ตอบ ก เพราะ Physical Layer เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จากช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสำหรับเลเยอร์ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector) เช่น RS-232C มีกี่พิน (Pin) แต่ละพินทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่าง ๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้http://www.angelfire.com/bug/pantha/3.htm
5.จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐานรูปแบบ OSIคือข้อใด
ก.กำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน
ข.กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่าย ๆ
ค.ให้มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละเลเยอร์
ง.กำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ ๆ
ตอบ ง. เพราะ เพื่อเป็นการกำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์ รวมถึงกำหนดรูปแบบการอินเตอร์เฟซระหว่างเลเยอร์ด้วย
แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/3.htm
6.อุปกรณ์การสื่อสารมีดังต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
ก. sinc character
ข.หน่วยควบคุมการแยกสัญญาณ (Cluster Control Unit)
ค.มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer)
ง.ฟร้อนท์เอ็นด์ (Front-end Processor)
จ.โมเด็ม (Modem)
ตอบ ก. เพราะอุปกรณ์การสื่อสารโมเด็ม (Modem)ฟร้อนท์เอ็นด์ (Front-end Processor)มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer)หน่วยควบคุมการแยกสัญญาณ (Cluster Control Unit)แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/5.htm7.มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) มีการทำงานอย่างไรก.รับสัญญาณข้อมูลจากผู้ส่งข้อมูลจากแหล่งต้นทางต่างๆ ซึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังปลายทางในที่ต่างๆกันข.ทำหน้าที่เชื่อมต่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ หรือมินิคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ของเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลค.ทำหน้าที่ มอดูเลตและดีมอดูเลต กล่าวคือแปลงสัญญาณกลับไปกลับมาระหว่างสัญญาณอานะลอกกับสัญญาณดิจิตอลง.ควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลตอบ ก คือ การทำงานของมัลติเพล็กเซอร์ มัลติเพล็กเซอร์จะรับสัญญาณข้อมูลจากผู้ส่งข้อมูลจากแหล่งต้นทางต่างๆ ซึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังปลายทางในที่ต่างๆกัน ดังนั้นสัญญาณข้อมูลต่างๆเมื่อผ่านมัลติเพล็กซ์เซอร์ มัลติเพล็กซ์เซอร์ก็จะเรียงรวม(มัลติเพล็กซ์)กันอยู่ในสายส่งข้อมูลเพียงสายเดียว และเมื่อสัญญาณข้อมูลทั้งหมดมา ถึงเครื่องมัลติเพล็กซ์เซอร์ชึ่งเรียกว่า อุปกรณ์ดีมัลติเพล็กซ์เซอร์อีกเครื่องหนึ่งทางปลายทาง สัญญาณทั้งหมดก็จะถูกแยก (ดีมัลติเพล็กซ์) ออกจากกันไปตามเครื่องรับปลายทางของแต่ละช่องทางสายส่งข้อมูลที่ใช้ในการส่งข้อมูลจะต้องมีความจุสูง จึงจะสามารถรองรับปริมาณข้อมูลจำนวนมากที่ถูกส่งผ่านมาพร้อมๆกันได้ สายส่งข้อมูลดังกล่าว ได้แก่ สายโคเอก สายไฟเบอร์ออปติก คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นดาวเทียม
แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/5.htm
8.ประเภทของช่องทางการสื่อสารข้อมูลแบ่งได้เป็นกี่ประเภท
ก.1
ข.2
ค.3
ง.4
ตอบ 3 คือแบบซิมเพล็กซ์ (Simplex) เป็นการติดต่อทางเดียว เมื่ออุปกรณ์หนึ่งส่งข้อมูล อุปกรณ์อีกชุดจะต้องเป็นฝ่ายรับข้อมูลเสมอ ตัวอย่างการใช้งานเช่น ในระบบสนามบิน คอมพิวเตอร์แม่จะทำหน้าที่ติดตามเวลาขึ้นและลงของเครื่องบิน และส่งผลไปให้มอนิเตอร์ที่วางอยู่หลาย ๆ จุดให้ผู้โดยสารได้ทราบข่าวสาร คอมพิวเตอร์แม่ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข้อมูล มอนิเตอร์ต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นผู้รับข้อมูล ไม่มีการเปลี่ยนทิศทางของข้อมูล เป็นการส่งข้อมูลแบบทางเดียวแบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์ (Half Duplex) เป็นการติดต่อกึ่งสองทาง เป็นการเปลี่ยนเส้นทางในการส่งข้อมูลได้ แต่คนละเวลากล่าวคือ ข้อมูลจะไหลไปในทิศทางเดียว ณ เวลาใด ๆ ตัวอย่างการใช้งานเช่น การติดต่อระหว่าง เทอร์มินัลกับคอมพิวเตอร์แม่ ผู้ใช้ที่เทอร์มินัลเคาะแป้นเพื่อสอบถามข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์แม่ ต้องใช้เวลาชั่วขณะคอมพิวเตอร์แม่จึงจะส่งข่าวสารกลับมาที่เทอร์มินัลนั้น ไม่ว่าจะเป็นเทอร์มินัลนั้น ไม่ว่าจะเป็นเทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์แม่ เมื่ออุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งเป็นผู้ส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่เหลือก็จะเป็นผู้รับข้อมูลในเวลาขณะนั้นแบบฟูลล์ดูเพล็กซ์ (Full Duplex) เป็นการติดต่อสองทาง เป็นติดต่อกันได้สองทาง กล่าวคือเป็นผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูล ในเวลาเดียวกันได้ ตัวอย่างการใช้งานเช่น การติดต่อระหว่างเทอร์มินัลกับคอมพิวเตอร์แม่ บางชนิดที่ไม่ต้องใช้เวลารอสามารถโต้ตอบได้ทันที หรือการพูดคุยทางโทรศัพท์ เป็นต้น
แหล่งที่มา http://www.angelfire.com/bug/pantha/4.htm9.ข้อใดคือtopologyแบบringก.เชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลักข.เชื่อมต่อกันเป็นวงกลมค.เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่ายง.เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันตอบข.เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
แหล่งที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
10.ระบบเครือข่ายใดที่มีการเชื่อมต่อในระดับจังหวัด
ก.lan
ข.man
ค.wan
ง.ไม่มีข้อถูก
ตอบ ค. เพราะ ระบบ LAN มีขอบเขตการทำงานแคบ มักอยู่ในอาคาร ออฟฟิศ สำนักงาน หรือหลายอาคารที่อยู่ติดกัน ไม่เกิน 2,000 ฟุตระบบเครือข่ายmanในเขตเมือง (Metropolitan Area Network) มีลักษณะคล้ายกับระบบ LAN แต่มีอาณาเขตที่ไกลกว่าในระดับเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเมืองที่อยู่ติดกันก็ได้ ซึ่งอาจเป็นการให้บริการของเอกชนหรือรัฐระบบเครือข่ายวงกว้าง (WAN)เป็นระบบที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างกว่า ไกลกว่าระบบแลน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบที่ไร้ขอบเขตแล้ว เช่นระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ แต่การที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีระยะห่างกันมากๆให้เป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งหมดนั้นจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายสาธารณะ (Public Networks) ที่ให้บริการการสื่อสาร โดยเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม ผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ (Public Switching Telephone Network ; PSTN) ซึ่งมีทั้งลักษณะต่อโมเด็มแบบที่ต้องมีการติดต่อก่อน (Dial-up) หรือต่อตายตัวแบบสายเช่า (Lease Line

0 ความคิดเห็น: