วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
On 03:53 by EForL in ความสุข No comments
เมื่อก่อนใคร ๆ
ก็มองว่าทายาทเจ้าของร้านเพชรชื่อดังอย่างผมเป็นผู้ชายที่เจ้าชู้
และไม่จริงจังกับใคร ในเวลานั้นอย่าว่าแต่คนอื่นเลย
แม้แต่ตัวผมเองก็ไม่คิดว่าอีกไม่กี่ปีต่อมามุมมองและความรู้สึกเรื่อง “ความสุข” ของผมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
ผมเติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่อบอุ่น
จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ดีจากต่างประเทศ เมื่อกลับมาเมืองไทย
ผมขออนุญาตคุณพ่อว่าจะยังไม่รับช่วงต่อธุรกิจร้านเพชรและธุรกิจอื่นๆ ของที่บ้าน
เพราะอยากหางานทำด้วยตัวเองก่อน
ไม่นานผมได้ทำงานที่บริษัทจัดการกองทุนของธนาคารแห่งหนึ่ง
ผมทุ่มเททำงานอย่างหนักจนเป็นพนักงานที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่งของบริษัท
แม้จะออกจากบริษัทมาแล้ว เจ้านายเก่าถึงกับเอ่ยปากว่าไม่สามารถหาใครมาแทนที่ผม
แล้วมีผลงานอย่างที่ผมเคยทำเอาไว้ได้อีกเลย
ส่วนเงินเดือนที่ได้ก็เป็นจำนวนมากจนน่าตกใจ
ในขณะที่อายุแค่ยี่สิบต้นๆ ผมจึงรู้สึกภาคภูมิใจและทะนงตนมาก
หลังเลิกงานผมใช้ชีวิตสนุกอย่างเต็มที่ ทั้งปาร์ตี้สังสรรค์กับกลุ่มเพื่อน
ออกไปแข่งรถหรือมอเตอร์ไซค์คันโปรด รวมถึงออกงานสังคมแทบทุกงาน คติประจำใจของผมในขณะนั้นคือ
ใช้ชีวิตให้เต็มที่เหมือนวันนี้เป็นวันสุดท้าย
แต่ไม่ได้หมายความว่าผมไม่ได้คิดถึงอนาคตเลย
ชีวิตผมเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อได้แต่งงานกับคุณฝน (คุณณวิภา มัสยวาณิช
เอี่ยม-อมรพันธ์)
เธอเป็นผู้หญิงเก่ง มาจากครอบครัวที่ดี แต่กลับใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล
ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายจนเกินจำเป็น แต่ก็ไม่ถึงกับกระเบียดกระเสียร
ผมจึงเริ่มฉุกคิด และได้เรียนรู้จากภรรยา หลังจากที่เราใช้ชีวิตร่วมกัน
จุดเปลี่ยนที่สองคือการบวช
ผมมีโอกาสได้บวชที่วัดเล็กๆ แห่งหนึ่งที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
(ใกล้ชายแดนพม่า) อยู่อย่างสมถะ นอนปักกลด ผูกมุ้ง
ได้พบกับน้ำจิตน้ำใจของชาวบ้านที่นั่น
ทำให้ผมเริ่มพบกับความสุขทางธรรมอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน
ส่วนจุดเปลี่ยนสุดท้ายที่ยิ่งใหญ่คือ เมื่อลูกสาววัยสองขวบป่วยเป็นโรคปอดอย่างรุนแรง
หลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนที่ดีที่สุดเพียงสามวัน
คุณหมอบอกว่าแบคทีเรียเข้าไปทำลายปอดของลูกถึง 80 เปอร์เซ็นต์
มีโอกาสรอดชีวิตเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อาการที่ทรุดลงเรื่อยๆ
ทำให้ภรรยารวมถึงญาติผู้ใหญ่หลายคนเริ่มถอดใจ แต่ผมกลับรู้สึกว่าจะยอมแพ้ไม่ได้
และต้องทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยลูก! ผมติดต่อเพื่อนที่เคยเรียนด้วยกันซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์อยู่ต่างประเทศ
จนมีโอกาสได้ปรึกษากับผู้บริหารขององค์การอนามัยโลก (WHO) ต่อมา
อาจารย์ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ และทีมแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดีทราบเรื่อง
จึงรับปากว่าจะช่วยดูแลลูกให้ ลูกถูกนำตัวเข้าห้องไอซียูทันทีที่ไปถึงโรงพยาบาลรามาธิบดี
หมอรีบต่อเครื่องช่วยหายใจแบบพิเศษซึ่งมีเพียงไม่กี่เครื่องในประเทศไทย
เอาไว้ใช้สำหรับคนไข้ที่ไม่สามารถควบคุมลมหายใจของตัวเองได้แล้วและอยู่ในขั้นโคม่า
หมอฉีดยาให้ลูกสลบเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือนเต็ม เพราะหากเขารู้สึกตัวจะหายใจแรงขึ้น
ซึ่งจะทำให้ปอดขยายและฉีกขาดจนเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้
เวลานั้นทุกวันของผมคือการเฝ้าดูอาการของลูก ดูแลจิตใจภรรยา
และที่สำคัญ ผมบอกตัวเองว่าต้องตั้งสติไว้ให้ได้ ลูกผมอยู่โรงพยาบาลเกือบสี่เดือน ต้องเรียกว่าปาฏิหาริย์
เพราะเขาหาย และกลับมาเป็นเด็กที่แข็งแรงอีกครั้ง
ผมได้แต่ขอบคุณคุณหมอซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้จะผ่านมาหลายปีแล้ว แต่ทุกวันเกิดของลูก
ผมจะพาเขาไปบริจาคเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์การแพทย์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีทุกปี
วันนี้ผมกล้าพูดอย่างเต็มปากเลยว่า “ความสุขของผมไม่ใช่การไปปาร์ตี้ท่ามกลางแสงสี
ใช้เงินมือเติบ
หรือแม้แต่ใช้ชีวิตบนความเสี่ยงอย่างการแข่งรถหรือมอเตอร์ไซค์แต่อย่างใด”
ความสุขของผมทุกวันนี้คือ ”การได้ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
ไม่หลงใหลในสิ่งที่ปรุงแต่ง ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างจริงจังมากกว่าที่เคย
และที่สำคัญที่สุด ผมมีเวลาได้อยู่กับครอบครัวที่ผมรักสุดดวงใจอย่างเต็มที่”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
เสียงเพรียกแห่งธรรม
บทความยอดนิยม
บทความทั้งหมด
- สิงหาคม 2018 (1)
- สิงหาคม 2016 (1)
- กรกฎาคม 2016 (1)
- มิถุนายน 2016 (5)
- เมษายน 2016 (1)
- มีนาคม 2016 (3)
- มกราคม 2016 (1)
- พฤศจิกายน 2015 (3)
- ตุลาคม 2015 (2)
- สิงหาคม 2015 (1)
- กรกฎาคม 2015 (1)
- มิถุนายน 2015 (3)
- พฤษภาคม 2015 (1)
- เมษายน 2015 (1)
- มีนาคม 2015 (1)
- ธันวาคม 2014 (5)
- พฤศจิกายน 2014 (4)
- พฤศจิกายน 2009 (4)
- มิถุนายน 2009 (5)
- กุมภาพันธ์ 2009 (2)
- มกราคม 2009 (4)
- พฤศจิกายน 2008 (7)
- ตุลาคม 2008 (2)
- กรกฎาคม 2008 (1)
สถิติผู้เข้าชม
ชีวิตไม่ใช่ เครื่องจักรมันมีความซับซ้อนมีความสดใส ร่าเริงมองโลกในแบบต่างๆรักอิสระ รักพวกพ้อง และมีปัญหาหลากหลาย ต้องการใครสักคน มาให้คำตอบเพื่อเป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิต
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น