Google+ มกราคม 2009 ~ Education For Life

ชีวิตไม่ใช่ เครื่องจักรมันมีความซับซ้อนมีความสดใส ร่าเริงมองโลกในแบบต่างๆรักอิสระ รักพวกพ้อง และมีปัญหาหลากหลาย ต้องการใครสักคน มาให้คำตอบเพื่อเป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิต

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552

On 04:09 by EForL   No comments
นอกเหนือไปจากคำสัญญาของเราในอันที่จะจัดหา Windows Server ที่มีความเร็วที่สุด เชื่อถือได้มากที่สุด และมีความปลอดภัยที่สุดแล้ว Windows Server 2003 ยังรวมฟังก์ชั่นการทำงานของระบบที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาบริการเว็บที่ชื่อว่า XML และโซลูชั่นเชิงธุรกิจ ซึ่งมีการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และต่อไปนี้คือลักษณะการทำงานใหม่ที่ได้รับการปรับปรุง เพื่อให้องค์กรใช้เป็นปัจจัยในการพิจารณาอัพเกรดจากระบบ Microsoft Windows NT Server 4.0


Active Directory: เพื่อการบริหารข้อมูลผู้ใช้บนเครือข่ายที่มีความซับซ้อนที่ดีขึ้นบริการ Microsoft Active Directory จะช่วยให้การจัดการสารบบเครือข่ายที่วุ่นวายซับซ้อนให้สามารถทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหา ส่วนประกอบหรือข้อมูลใดๆ ที่แม้จะเก็บอยู่ในเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
ระบบนี้สามารถรองรับได้หลากหลายขนาดขององค์กร ซึ่งถูกสร้างโดยอาศัยมาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต และรวมทั้งยังรองรับระบบปฏิบัติการได้ทั้ง Windows Server 2003 Standard Edition, Windows Server 2003 Enterprise Edition และ Windows Server 2003 Datacenter Edition Windows Server 2003 ยังได้มีการปรับปรุง Active Directory ให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากขึ้นและมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้น รวมทั้งการสร้าง Trusts ข้ามกันระหว่าง Forest, ความสามารถในการเปลี่ยนชื่อของ Domain, และความสามารถในการยับยั้งการใช้งาน attributes และ class ภายใน schema เพื่อให้สามารถเปลี่ยนคำนิยามของคุณสมบัติเหล่านั้นได้



Group Policy: Group Policy Management Console: สร้างนโยบายรวมศูนย์เพื่อบริหารการใช้ซอฟท์แวร์ของทั้งเครือข่ายที่ดีและปลอดภัยขึ้นผู้จัดการระบบสามารถใช้ Group Policy เพื่อกำหนดค่าต่างๆและกำหนดสิทธิ์ให้กับทั้งตัวผู้ใช้งานและเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อแตกต่างระหว่าง Group Policy และ local policy คือผู้จัดการระบบสามารถใช้ Group Policy เพื่อกำหนดนโยบายที่จะใช้ร่วมกันระหว่าง site ที่ตั้ง โดเมน หรือหน่วยที่รวบรวมขึ้นใน active directory ได้ การจัดการแบบใช้นโยบายเป็นหลักนี้ จะช่วยทำให้งานต่างๆ ดังต่อไปนี้ทำได้ง่ายขึ้น : การปรับปรุงระบบ การติดตั้งโปรแกรม ข้อมูลของผู้ใช้งาน และ desktop-system lockdown
Group Policy Management Console (GPMC) ซึ่งเป็นส่วนเพิ่มเติมในวินโดวส์ 2003 นั้นจะช่วยให้เกิดรูปแบบการทำงานใหม่ในการจัดการ Group Policy กล่าวคือทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ระบบ Group Policy ได้ง่ายขึ้น และจะมีประโยชน์ในแง่ที่ช่วยให้องค์กรสามารถใช้ Active directory ได้ดียิ่งขึ้น และยังนำข้อดีของการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมาช่วยพัฒนาองค์กรได้อีกด้วย

ประสิทธิภาพการทำงานของ Server (Server Performance): อย่างน้อย 2 เท่าจาก Windows NT Server 4.0
จากผลการทดสอบบน Windows Server 2003 ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการทำงานที่ดีมากยิ่งกว่าเวอร์ชั่นเก่าๆ ที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น ไฟล์ข้อมูล และ Web Server มีความเร็วในการทำงานเป็นสองเท่าของ Windows NT Server 4.0 และขณะที่ประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรของคุณ มีความแตกต่างกันในแต่ละหน่อยงาน เนื่องจากการกำหนดค่าต่างๆ ของ Network และคอมพิวเตอร์หลากหลายแบบ ทางไมโครซอฟท์เชื่อมั่นว่าการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของ Windows Server 2003 จะช่วยให้คุณสามารถทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

การกู้ข้อมูลคืน โดยใช้เครื่องมือ Volume Shadow Copy: เพื่อบริหารการลบและกู้คืนไฟล์ที่ดีขึ้น
คุณลักษณะเด่นนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในบริการ Volume Shadow Copy Service ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้จัดการระบบสามารถปรับแต่งโปรแกรมเพื่อให้ระบบสามารถ copy ข้อมูลที่มีความสำคัญต่อองค์กรได้ในทันที โดยที่ไม่มีการขัดจังหวะจากการหยุดทำงานของระบบแต่อย่างใด ซึ่งสำเนาข้อมูลต่างๆ เหล่านี้นับได้ว่ามีประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน เมื่อต้องการเรียกข้อมูลคืน และการจัดเก็บข้อมูลเข้าแฟ้มข้อมูลถาวร เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถเรียกข้อมูลในแฟ้มข้อมูลถาวรซึ่งอยู่บน Server นั้นมาใช้งานได้ตลอดเวลา วิธีการกู้ไฟล์คืนที่ดีขึ้นกว่าระบบเก่านี้จึงถือว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิผลให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดีทีเดียว

Internet Information Service 6.0 และ Microsoft .NET Framework: เพิ่มความเร็วของ Web Application โดยรวมและความหลากหลายในการพัฒนา Application
Internet Information Service (IIS) 6.0 เป็น Web Server ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถช่วยในการทำงานของ Web Application และบริการ XML Web service ได้ดี IIS 6.0 ได้รับการออกแบบโดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Fault-tolerant process ซึ่งนับว่าเป็นการช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ และ Web Application ได้อย่างมากทีเดียว
ปัจจุบันนี้ IIS สามารถแยกออกมาจาก Web Application ต่างๆ กลายเป็นโปรแกรมที่สามารถจัดการงานต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง หรือที่เราเรียกว่า Application Pool โดยมีการทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการโดยตรง คุณลักษณะเช่นนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณงานต่อหน่วยเวลาและความสามารถของระบบให้มากขึ้น และในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างใน Server ให้มากขึ้นด้วย ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจาก application pool นี้คือช่วยลดความต้องการในการใช้ฮาร์ดแวร์ขององค์กรให้น้อยลง นอกจากนั้น Application Pool นี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้โปรแกรม หรือ site อื่นๆ ถูก รบกวนจาก XML web service หรือโปรแกรมเว็บต่างๆ บน Server ได้อีกด้วย
IIS ยังมีความสามารถในการค้นหา, กู้ข้อมูล, และป้องกันการล่มของ Web Application ซึ่งบนระบบ Microsoft ASP.NET บน Windows Server 2003 นั้น ได้มีการใช้งานบนโครงสร้าง IIS แบบใหม่นี้ ซึ่งคุณสมบัติเกี่ยวที่ล้ำสมัยเหล่านี้สามารถใช้ร่วมกับ Applications ที่มีอยู่เดิมซึ่งทำงานภายใต้ไม่ว่าจะเป็น IIS 4.0 และ IIS 5.0 ก็ตาม โดยที่ไม่ต้องมีการแก้ไขส่วนโครงสร้างใดๆ ก็ตามของ Applications
โปรแกรม .NET Framework ประกอบด้วยโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้าง แปลง และดำเนินงาน Web Application และ XML Web Services บน Platform นอกจากนั้นโปรแกรม .NET Framework นี้ยังประกอบด้วยปัจจัยแวดล้อมที่มีประโยชน์ มีความเป็นมาตรฐาน และรองรับการสร้างแอพพลิเคชั่นจากหลายภาษา เพื่อช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เดิมที่มีอยู่แล้วเข้ากับโปรแกรมและบริการใหม่ๆ ให้ได้ผลดี เช่นเดียวกันกับที่ช่วยให้โปรแกรม Internet-scale สามารถส่งข้อมูล และดำเนินการทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น การปรับรูปแบบของโปรแกรมเก่าที่มีอยู่เดิมแล้วนั้นสามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกันกับการ integrate และการ migrate ระบบ XML Web services และโปรแกรม UNIX ไปยังเครื่องมืออื่นที่มีปริมาณงานน้อยกว่าได้เช่นกัน

Terminal Services: รันโปรแกรมโดยอาศัยทรัพยากรของเซอร์ฟเวอร์ผ่านหน้าจอของ Client
คุณลักษณะของ Terminal service นี้ ช่วยให้ผู้จัดการระบบสามารถส่งโปรแกรม ซึ่งมีหลักการทำงานบน Windows (Window-based application) หรือที่เรารู้จักว่าเป็น desktop ของ Windows ไปยังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรมอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่บน Windows ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้ใช้งานเริ่มใช้โปรแกรมบน Terminal server โปรแกรมนั้นจะมีการทำงานบน Server ในขณะที่การใช้งานของคีย์บอร์ด เม้าส์ และข้อมูลแสดงผลจะถูกส่งไปยังเนตเวิร์ค ผู้ใช้งานจะเห็นเฉพาะ Desktop ที่เป็นของผู้ใช้งานเองเท่านั้น และมีการทำงานแยกกันอย่างเด็ดขาดกับ client อื่น
คุณลักษณะสำหรับผู้จัดการระบบซึ่งเรียกว่า Remote Desktop นี้มีการสร้างขึ้นบนการจัดการระบบทางไกลของ Windows 2000 Terminal Services นอกจาก virtual session สอง sessions ที่เป็นการจัดการระบบทางไกลบน Windows 2000 Terminal Services แล้ว ผู้จัดการระบบยังสามารถทำงานต่อเข้ากับส่วนควบคุมของ Server ได้แบบทางไกลด้วย Terminal Server สามารถปรับปรุงและเพิ่มความสามารถของการส่งข้อมูลซอฟท์แวร์ในสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งคุณลักษณะนี้ยังคงเป็นปัญหาในการใช้โปรแกรมเก่าอยู่ทุกวันนี้

Clustering (Eight-Node Support): สร้างกลุ่มเซอร์ฟเวอร์ เพื่อการให้บริการที่ไม่ขาดตอน
คุณลักษณะนี้ปรากฏอยู่บน Windows Server 2003, Enterprise Edition และ Windows Server 2003, Datacenter Edition เท่านั้น โดยเน้นความสำคัญไปที่โปรแกรมจัดการงานต่างๆ เช่น ระบบฐานข้อมูล ระบบรับ-ส่งข้อความ และบริการจัดเก็บข้อมูลและพิมพ์เอกสาร การทำงานแบบ Clustering นี้มีการทำงานของ Server หรือ nodes หลายตัว เพื่อช่วยรักษาการทำงานให้คงที่ไม่ขาดตอน โดยหาก Node ใด Node หนึ่งใน Cluster ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากความผิดพลาดของการซ่อมแซมเครื่องคอมพิวเตอร์ node อื่นๆ จะสามารถทำงานแทนได้ในทันที ซึ่งขั้นตอนนี้รู้จักกันดีว่าเป็น “Failover” ผู้ใช้งานซึ่งกำลังใช้งานอยู่จะสามารถทำงานต่อไปได้ โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของ node ที่ช่วยทำงานแทนแต่อย่างใด
ทั้ง Windows Server 2003 Enterprise Edition และ Windows Server 2003 Datacenter Edition นี้ช่วยให้การติดตั้ง server cluster สามารถทำได้สูงถึง 8 nodes เลยทีเดียว

การ integrate ของโปรแกรม PKI Support โดยใช้ Kerberos เวอร์ชั่น 5
องค์กรของคุณสามารถใช้งาน Public Key Infrastructure (PKI) ได้ โดยใช้บริการ Certificate และเครื่องมือช่วยจัดการ Certificate และด้วย PKI นี้เอง ผู้จัดการระบบจะสามารถติดตั้งเทคโนโลยีแบบ standard-based ได้ตัวอย่างเช่น การ logon สมาร์ทการ์ด, การยืนยันผู้ใช้งานผ่านทาง Secure Sockets Layer และ Transport Layer Security, Email Protect, Digital Signature และความปลอดภัยของเครือข่ายโดยใช้ Internet Protocol Security (IPSec)
นอกจากนั้นแล้ว ด้วยบริการ Certificate นี้ ผู้จัดการระบบสามารถติดตั้งระบบ และบริหารสิทธ์ใน Certification ทั้งการมอบและการเรียก X.509 V3 certificate กลับคืนได้ ซึ่งนั่นหมายถึงองค์กรของคุณไม่จำเป็นต้องใช้ระบบยืนยันที่ผู้ใช้งานอีกต่อไป แม้ว่าจะมีการ integrate ระบบยืนยันที่ผู้ใช้งานนั้น PKI ขององค์กรแล้วก็ตาม Kerberos เวอร์ชั่น 5 เป็นเนตเวิร์คโพรโทคอลแบบ industry-standard ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วด้วยการ logon เพียงครั้งเดียว แต่สามารถเข้าใช้งาน resource ได้หลาย resources รวมถึง environment อื่นๆ ที่สนับสนุนระบบนี้ ประโยชน์อื่นๆของ Kerberos เวอร์ชั่น 5 ยังรวมถึง mutual authentication ซึ่งทั้งผู้ใช้งานและ Server ต้องทำงานยืนยันหรือตรวจสอบซึ่งกันและกัน และ delegated authentication ซึ่งเป็นการยืนยันผู้ใช้งานโดยมีการตรวจสอบประวัติและข้อมูลของผู้ใช้งานอย่างละเอียด

การจัดการ Command-Line: สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการ UNIX หรือ Linux
Windows Server 2003 ยังเสนอคุณลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือ Command-Line Infrastructure ซึ่งช่วยให้ผู้จัดการระบบสามารถดำเนินงานในเชิงบริหารจัดการต่างๆ ได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องใช้ user interface เชิงกราฟแต่อย่างใด และที่พิเศษไปกว่านั้นคือคุณลักษณะแบบ Command-Line นี้สามารถช่วยในทำงานที่มีลักษณะงานแตกต่างกันได้ดี โดยใช้วิธีการเข้าไปยังส่วนเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Windows Management Instrumentation (WMI)
WMI Command-Line หรือ WMIC นี้ยังมีการ interface กับระบบ Simple Command-Line ซึ่งจะช่วยในการทำงานร่วมกันกับโปรแกรมสนับสนุนตัวอื่นๆ และคำสั่ง utility อื่นๆ อีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว WMIC ยังสามารถเพิ่มเติมฟังก์ชั่นการใช้งานได้ง่ายๆ ด้วย script หรือโปรแกรม administration-oriented อื่นๆ เมื่อรวมกับ script ที่พร้อมใช้งานแล้ว ฟังก์ชั่นการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นของ Command-Line ใน Windows Server 2003 จะสามารถแข่งขันได้กับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ที่มีราคาค่อนข้างสูงกว่าได้เป็นอย่างดี ผู้จัดการระบบที่เคยใช้งานระบบ Command-Line เพื่อจัดการระบบ UNIX หรือ Linux จะสามารถใช้งาน Command-Line บน Windows Server 2003 ได้อย่างดีทีเดียว

Intelligent File Services: Encrypting File System, Distributed File System, และ File Replication Service: เพื่อการบริหารไฟล์จำนวนมากมหาศาลในองค์กรที่ง่ายขึ้น
Encrypting File System – EFS จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งรหัสและถอดรหัสการใช้งานไฟล์ข้อมูล เพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลเหล่านั้นจากผู้ที่พยายามเข้ามาใช้งานข้อมูลดังกล่าวอย่างไม่ถูกต้อง เช่น ขโมยเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา หรือขโมย external disk (drive)
การทำ Encryption นี้ ผู้ใช้งานยังคงใช้งานไฟล์ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลที่มีการทำ encryption ไว้ได้เหมือนกับใช้งานไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลอื่นๆ และหากผู้ใช้งาน EFS เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ทำ encrypt ไว้ ระบบจะทำการถอดรหัสไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลนั้นให้โดยอัตโนมัติ เมื่อผู้ใช้งานเข้าไปใช้งานไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลนั้นภายหลัง Distributed File System – DFS ช่วยในการบริหาร resource ของดิสก์ที่ใช้ร่วมกันบนเนตเวิร์ค ผู้จัดการระบบจะทำการตั้งชื่อ logical name ให้กับไดรฟ์ที่ใช้ร่วมกันบนเนตเวิร์ค แทนที่จะให้ผู้ใช้งานต้องเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อแบบ physical name ของ Server แต่ละเครื่องที่ผู้ใช้งานต้องการเข้าไปทำงาน
File Replication Service – FRS เป็นโปรแกรมที่ได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดีกว่าคุณลักษณะ Directory Replication บน Windows NT Server 4.0 ในหลายๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น FRS จะมีการ replicate จากไฟล์หลักได้ครั้งละหลายไฟล์สำหรับ directory tree ซึ่งอยู่บน Server ที่สร้างขึ้น นอกจากนั้น DFS ยังใช้ FRS เพื่อปรับข้อมูลระหว่างไฟล์ข้อมูลที่ replicate มาด้วยกันเองโดยอัตโนมัติ อีกทั้ง Active Directory ยังใช้ FRS ในการปรับข้อมูลจาก system volume information ไปยังหน่วยควบคุมโดเมนให้ตรงกันด้วย

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

On 21:27 by EForL   No comments
วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 (Windows Server 2003)
เป็นระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์จากไมโครซอฟท์ เป็นรุ่นที่ถัดจากวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ได้ออกวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งนับเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Windows Server System

ภาพรวมวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่ออกมาหลังจากไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Trustworthy Computing จึงเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องความปลอดภัย โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เช่นหลังจากการตั้งแต่ติดตั้งเสร็จนั้น ไม่มีส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดการใช้งานเพื่อลดช่องทางโจมตีตั้งแต่แรกเริ่ม และได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน IIS 6.0 โดยเกือบเขียนขึ้นมาใหม่หมด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยประสิทธิภาพการทำงาน
ในปีพ.ศ. 2548 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ "ลองฮอร์น" ซึ่งจะเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 โดยมีกำหนดการที่จะออกครึ่งปีแรกใน พ.ศ. 2550
วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ได้แบ่งเป็นรุ่นดังนี้:
Windows Small Business Server 2003
Windows Server 2003 Web Edition
Windows Server 2003 Standard Edition
Windows Server 2003 Enterprise Edition
Windows Server 2003 Datacenter Edition
Windows Compute Cluster Server 2003

ปัจจุบันไมโครซอฟท์ได้ออก Windows Server 2012 Enterprise แล้ว
On 20:08 by EForL   No comments

ประวัติความเป็นมา (History)

วินโดวส์ที่ถูกพัฒนาโดยไมโครซอฟต์ในรุ่นแรก ๆ จะใช้กับเครื่องไอบีเอ็ม และไอบีเอ็มคอมแพททิเบิล ที่มีซีพียูเบอร์ 80286 80386 และ 80486 และในปี 1990 ไมโครซอฟต์ได้ออกวินโดวส์เวอร์ชัน 3.0 ออกมา เพื่อทำการโปรโมทผู้ใช้ไม่ให้หันไปนิยมใช้แมคอินทอชโอเอสแทนดอส อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าวินโดวส์จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส แต่ในเวอร์ชันแรก ๆ การใช้งานก็ยังไม่ง่ายเท่าของแมคโอเอส และนอกจากนี้การติดตั้งอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ก็ยังทำได้ยากวินโดวส์ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จากวินโดวส์เวอร์ชัน 3 มาเป็น 4.0 วินโดวส์ 95 และวินโดวส์ 98 ในปัจจุบัน วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98 ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริง เนื่องจากมันไม่ต้องอยู่ภายใต้ การควบคุมของดอส การติดตั้งจะแยกออกจากดอสอย่างเด็ดขาดไม่จำเป็นต้องติดตั้งดอสก่อน นอกจากความง่ายและสะดวกต่อการใช้งานแล้ว วินโดวส์เวอร์ชันใหม่นี้ยังรวมซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้ากับระบบเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและยังเอื้ออำนวยความสะดวกในการโอนถ่ายซอฟต์แวร์หรือที่เรียกว่าดาวน์โหลด(Download) โปรแกรมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้วินโดวส์เวอร์ชันใหม่นี้ยังมีความสามารถทางด้าน Plug–and-Play ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถนำอุปกรณ์ มาตรฐานต่าง ๆ เช่น ซีดีรอมไดรฟ์ ซาวน์การ์ด โมเด็ม ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ฯลฯ ที่สนับสนุน Plug-and-Play มาต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง และเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 หรือ 98 จะทำหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้และทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักอุปกรณ์เหล่านี้เอง โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มในปัจจุบันตลาดพีซีเกือบทั้งหมดถูกครองครองโดยระบบปฏิบัติการวินโดวส์ รวมทั้งมีการผลิตซอฟต์แวร์ที่รันอยู่บนระบบปฏิบัติการประเภทนี้ออกมาสู่ตลาดอย่างมากมาย ดังนั้นจึงมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่นิยมใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98Microsoft Windows



ตั้งแต่อดีต - ปัจจุบันปี รายละเอียดตุลาคม 2524 IBM เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลครั้งแรก พร้อมด้วยระบบปฏิบัติการ PC-DOS 1.0 ของไมโครซอฟท์มีนาคม 2526 ไมโครซอฟท์เปิดตัว MS-DOS 2.0 ที่สนับสนุนการใช้งานฮาร์ดดิสก์และระบบจัดการไฟล์แบบใหม่พฤศจิกายน 2526 ไมโครซอฟท์แนะนำระบบปฏิบัติการ Windows ที่ทำงานบน MS-DOS โดยเริ่มแรกที่ใช้ชื่อว่า Interface Manager พฤศจิกายน 2528 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows1.0 เมษายน 2530 IBM และไมโครซอฟท์ร่วมกันเปิดตัว OS/2 1.0 ระบบปฏิบัติการยุคใหม่ที่มีระบบการทำงานตามคำสั่งคอมมานต์ไลน์เหมือนกับDOSธันวาคม 2530 ไมโครซอฟท์จำหน่ายระบบปฏิบัติการ Windows 2.0 ที่หน้าต่างสามารถวางซ้อนทับกันได้ และทำงานได้กับไมโครโปรเซสเซอร์80286 ของอินเทล ธันวาคม 2530 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows/386 ซึ่งอาศัยคุณสมบัติ Virtual Machine ของไมโครโปรเซสเซอร์ 80386 ซึ่งสามารถเรียกใช้งานโปรแกรม DOS ได้แบบหลายงานพร้อมกัน(Multitasking) มิถุนายน 2531 ไมโครซอฟท์จำหน่ายระบบปฏิบัติการ Windows 2.0 Version 2 มีชื่อว่า Windows-286 ตุลาคม 2531 IBM และไมโครซอฟท์ร่วมกันพัฒนาและออก OS/2 1.1 ซึ่งมีหน้าตาแบบกราฟฟิคคล้ายกับวินโดวส์ โดยมีชื่อว่า PresentationManager ต่อมาภายหลังภายหลังทั้งสองบริษัทได้หยุดความร่วมมือในการพัฒนา OS/2 พฤศจิกายน 2531 เปิดตัว MS-DOS 4.1 ออกสู่ตลาดพฤษภาคม 2533 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 3.0 และได้รับการตอบรับอย่างดี โดยในช่วงปลายปี ไมโครซอฟท์ขยายซอฟต์แวร์Windows ได้มากกว่า 1 ล้านชุดต่อเดือนเมษายน 2534 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 3.1ด้วยเทคโนโลยีแสดงตัวอักษรแบบใหม่ และแก้ปัญหาบั๊กต่างๆ มิถุนายน 2534 เปิดตัว MS-DOS 5.0 ออกสู่ตลาด ตุลาคม 2534 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows for Workgroup 3.1โดยความสามารถด้านเครือข่าย มีนาคม 2535 เปิดตัว MS-DOS 6.0 ออกสู่ตลาดพฤษภาคม 2535 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT 3.1 เวอร์ชั่นของสายผลิตภัณฑ์ Windows NT ซึ่งมองโดยรวมแล้วมีลักษณะคล้ายWindows 3.1 แต่ทำงานบนเครื่อง 32 บิตพฤศจิกายน 2536 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows for Workgroup 3.11พร้อมกับ MS-DOS 6.2มีนาคม 2537 เปิดตัว MS-DOS 6.21 ออกสู่ตลาดพฤษภาคม 2537 เวอร์ชันสุดท้ายของ DOS ออกสู่ตลาด คือ MS-DOS 6.22 ด้วยความสามารถในการบีบอัดข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ DriveSpace กันยายน 2537 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT เวอร์ชัน 2 ออกสู่ตลาด (Windows NT 3.5) มิถุนายน 2538 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT3.51 สิงหาคม 2538 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 95 (Windows 4.0)ออกสู่ตลาด ด้วยความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ Windows 95 สนับสนุนชื่อไฟล์แบบยาวแอพพลิเคชัน 32 บิต และมีคุณสมบัติ Plug and Play พร้อมกับหน้าจออินเทอร์เฟซใหม่ ที่มีการใช้ปุ่ม Start Menu เป็นครั้งแรกกรกฎาคม 2539 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT 4.0 ซึ่งมีหน้าจออินเทอร์เฟซแบบเดียวกับ Windows 95 และเป็นระบบปฏิบัติการสายNT ตัวแรกที่ประสบผลสำเร็จตุลาคม 2539 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ OEM Service Release 2 ของWindows 95 หรือที่เรียกว่า OSR2 และเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกของWindows 95 ที่สนับสนุนการใช้งานระบบไฟล์แบบ FAT32มิถุนายน 2540 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 95 OSR2.1 ซึ่งสนับสนุนตัวประมวลผลทางด้านกราฟฟิค AGP และพอร์ต USB มิถุนายน 2541 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 98 ออกสู่ตลาด พร้อมด้วย Internet Explorer 4.0 ไดร์เวอร์ฮาร์แวร์ใหม่ ระบบจัดการพลังงานด้วย ACPI นับเป็นวินโดวส์อีกรุ่นที่ประสบความสำเร็จพฤษภาคม 2542 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 98 Second Edition (SE)ออกสู่ตลาด พร้อมด้วย Internet Explorer 5.0 และ Internet ConnectionSharing (ICS) กุมภาพันธุ์ 2543 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 2000 (Windows NT5.0) โดยสนับสนุนคุณสมบัติ Plug and Play, DirectX, USB และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีอยู่ใน Windows 9x กันยายน 2543 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows Millenium Edition (Me)ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายในสายผลิตภัณฑ์ Windows 9x ตุลาคม 2544 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows eXPerience หรือWindows XP ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมสายผลิตภัณฑ์ Windows 9xและWindows NT/2000 เข้าไว้ด้วยกัน และสนับสนุนงานทางด้านMultimedia
Microsoft Windows Server 2003 Windows Server 2003 คือแพล็ตฟอร์มที่ช่วยเพิ่มประสิทธิผลให้กับผู้ใช้ ให้มุมมองใหม่ของข่าวสารทางธุรกิจที่สำคัญต่อผู้ใช้ เพื่อจะสามารถทำงานร่วมกัน จัดการ และตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในโลกแห่งการแข่งขันได้ดีขึ้น ระบบปฏิบัติการตระกูล Windows Server 2003 ทำให้งานด้าน IT มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมกับช่วยลดค่าใช้จ่าย สำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก จนถึงศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่
ระบบปฏิบัติการตระกูล Windows Server 2003 สามารถช่วยให้:ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แอพพลิเคชั่นได้รับการพัฒนา, นำไปใช้ และทำงานได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น เพิ่มผลการทำงานให้กับทุกส่วนขององค์กร การให้บริการอย่างต่อเนื่องสามารถทำงานได้ตลอดเวลา ด้วยการปรับปรุงด้านการทำคลัสเตอร์ ซึ่งรองรับการมีเซิร์ฟเวอร์ถึง 8 เครื่อง ความสามารถในการขยายระบบสนับสนุนทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพให้เซิร์ฟเวอร์ โดยรองรับการเพิ่มโปรเซสเซอร์แบบ 64-บิต สูงสุดถึง 64 ตัว (SMP) และการเพิ่มจำนวนเซิร์ฟเวอร์ให้กับระบบงาน ด้วยการทำคลัสเตอร์ รวมไปถึงการสนับสนุนโปรเซสเซอร์ทั้งแบบ 32-บิต และ 64-บิตด้วย ความสามารถด้านการจัดการ ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาลง ด้วยการทำงานให้โดยอัตโนมัติ โดย Windows Server 2003 มีเครื่องมือช่วยในด้านการจัดการ เช่น Active Directory® และ Group Policy, การใช้สคริปต์ และ wizard สำหรับปรับการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ ความปลอดภัย โครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยคือปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจ ในฐานะของผู้นำในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับระบบที่มีความปลอดภัยสูงขึ้นกว่าเดิม ดังจะเห็นได้ว่า Windows Server 2003 ให้ความปลอดภัยสูงขึ้น ไม่ว่าจะเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบจากที่ใด ด้วยอุปกรณ์ใดๆ ก็ตาม ข้อมูลที่สำคัญของคุณจะได้รับการปกป้องตลอดเวลา Windows Server 2003 มีเว็บเซิร์ฟเวอร์ Internet Information Services (IIS) ที่ได้รับการออกแบบใหม่ พร้อมรองรับโปรโตคอลที่มีความปลอดภัยสูง อย่างเช่น 802.1x และ PEAP รวมถึงมี common language runtime ที่มีส่วนทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัยมากขึ้นการมีรากฐานที่แข็งแกร่ง ทำให้องค์กรธุรกิจสามารถเสนอบริการที่มีค่าใช้จ่ายน้อยลง แต่ให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น และช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละราย แอพพลิเคชั่นที่ดีขึ้น และทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิม Windows Server 2003 ใช้สถาปัตยกรรมที่มีเสถียรภาพ และสามารถขยายระบบได้ จึงเป็นแพล็ตฟอร์มที่ทรงพลังสำหรับแอพพลิเคชั่น โดยวางรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อให้การพัฒนาและจัดการกับแอพพลิเคชั่นทำได้ง่าย อีกทั้งความสามารถในการขยายระบบและการปรับปรุงประสิทธิภาพยังทำให้รันแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่ได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนั้น บริการสำหรับแอพพลิเคชั่น เช่น Microsoft .NET Framework, Message Queuing, COM+ และอื่นๆ จะรวมกันเป็นเครื่องมือที่นักพัฒนาและผู้ดูแลระบบสามารถสร้างโซลูชั่นที่มีการเชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

On 19:46 by EForL   No comments
Red Hat Linux
เรดแฮ็ท เกิดขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มโปรแกรมเมอร์ ในแถบนอร์ธ-แคโลไลนาในสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างดิสตริบิวชั่นของ Linux ที่มีการติดตั้งและการใช้งานให้ง่ายที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แนวคิดพื้นฐานของเรดแฮ็ทคือเรื่องของ แพ็กเกจ (package) ซึ่งเป็นชุดของโปรแกรม ที่สามารถทำการติดตั้งเพิ่มเข้าและถอดออกได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ หรือไม่ต้องทราบรายละเอียดแต่อย่างใด (โดยปกติแล้วการติดตั้งซอฟต์แวร์ในระบบ UNIX และ Linux จะต้องขยายไฟล์ที่ถูกบีบอัดไว้ออกมาก่อน แล้วคอมไพล์ตัวโปรแกรม Linux ใหม่พร้อมกับโปรแกรมเหล่านั้น จึงจะสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์นั้น เพิ่มลงไปในระบบได้)ดังนั้น Red Hat จึงได้พัฒนาโปรแกรม RPM (RPM Package Manager) ขึ้นมาสำหรับติดตั้ง ถอดถอน และบริหารชุดของแพ็กเกจดังกล่าว โดยไม่ต้องเสียเวลาคอมไพล์ใหม่ (ซึ่ง RPM ในเวอร์ชันแรกๆจะพัฒนาด้วยภาษา Perl แต่ในเวอร์ชันต่อๆมาจะพัฒนาด้วยภาษา C ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น) และนอกจาก RPM แล้วทางบริษัท Red Hat ก็ยังได้พัฒนาโปรแกรมติดตั้งที่เรียกว่า GLINT (Graphical Linux INstallation Tool) ซึ่งมีลักษณะการใช้งานเป็นแบบกราฟิกขึ้น จึงทำให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมากRed Hat Linux เวอร์ชันแรกได้ออกจำหน่ายเมื่อช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1994 และด้วยคุณสมบัติเด่นของ RPM จึงส่งผลให้ Red Hat Linux ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นดิสตริบิวชั่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในเชิงธุรกิจ ขณะที่ RPM ก็ได้รับการยอมรับ และนำไปใช้เป็นเครื่องมือมาตรฐาน ในการบริหารแพ็กเกจบนระบบ UNIX อื่นๆนอกเหนือจาก Linux ด้วย

Suse
SuSE เป็นลีนุกซ์สัญชาติเยอรมัน ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งในเยอรมันและยุโรปการติดตั้ง SuSE นั้น มีโปรแกรมที่จัดการการติดตั้งชื่อ YaST2 ซึ่งทำให้การติดตั้งได้ง่ายมากภาษาในการติดตั้งยังไม่มีภาษาไทยDebian==> Debian นั้นเริ่มเมื่อปี 1993 โดยนายเอียน เมอร์ดอค คำว่า Debian ก็มาจากชื่อของเค้า เอียน ( -ian ) กับชื่อแฟนของเค้า เด็บบาร่า (deb-) เอามารวมกันก็เป็น Debian นี่ถือได้ว่าเป็นลินุกซ์สำหรับแฮคเกอร์โดยแท้จริง Debian มีจุดแข็งอยู่ตรงระบบการลงโปรแกรมที่เรียกได้ว่าดีมากๆ เรียกว่า APT ที่ใช้งานได้ง่ายกว่า RPM ของเรดแฮทมาก และจะสะดวกมากขึ้นอีกถ้าเรามีเน็ตแรงๆ อยู่ด้วย เนื่องจากว่า APT จะทำการอัพเดทโปรแกรมให้เราอัตโนมัติ เช่น ต้องการลง Mozilla แค่สั่ง apt-get mozilla แล้วก็รออย่างเดียว Mozilla ก็จะพร้อมใช้งานทันที แต่ว่าส่วนอื่นๆ ของ Debian ยังไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้หน้าใหม่เช่นกัน เลยมีบริษัทหัวใสจำนวนมาก ได้นำ Debian ดั้งเดิมมาดัดแปลงให้เหมาะกับผู้ใช้หน้าใหม่มากขึ้น แล้วนำมาขาย เช่น Xandros และ LindowsMandrake

Linux
Mandriva Linux เป็นลีนุกซ์ดิสโทรที่มีบุคลิกที่สุดสำอาง เริ่มพัฒนามาพร้อมๆ กับ Red Hat Linux แต่มีแนวทางเป็นของตนเอง และไม่คิดตามหลังใคร มิหนำซ้ำยังหาญกล้านำเทคโนโลยีใหม่ๆ มารวมไว้ก่อนดิสโทรอื่นเสมอๆ จนทำให้มีหมายเลขเวอร์ชั่นหนีห่างจาก Red Hat ชนิดไม่เห็นฝุ่น ความที่เน้น Cutting-Edge Technology เช่นนี้มากจนเกินไป จนลืมให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจการจึงทำให้ขาดทุนและเกือบต้องเลิกกิจการไป หลังจากได้รับการบริจาคเงินช่วยเหลือและต่อมารวมกิจการกับ Connectiva Linux จนเป็น Mandriva Linux แล้ว ลีนุกซ์ดิสโทรนี้ก็ยังคงมีลักษณะที่เน้นการนำเสนอเทคโนโลยีล้ำหน้าคู่แข่งเสมอมาเรียนรู้เพิ่มเติม
(http://www.redhat.com/)บริษัท
(http://www.suse.com/)
(http://www.debian.org/)โครงการ